Product – PONN

PONN

Top Chain Conveyor Belt
สายพานลำเลียงท็อปเชน

         สายพานลำเลียงท็อปเชน (Top Chain Conveyor Belt) เป็นหนึ่งในระบบลำเลียงที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมสมัยใหม่ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ยา และบรรจุภัณฑ์ ด้วยคุณสมบัติที่แข็งแรง ทนทาน และสามารถลำเลียงสินค้าได้อย่างราบรื่นแม้ในพื้นที่จำกัด ระบบนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ลดเวลาในการขนส่งภายในสายงาน และยังสามารถออกแบบให้เหมาะสมกับกระบวนการผลิตแต่ละประเภทได้อย่างยืดหยุ่น

 

        บริษัท พี แอนด์ ดับบลิว ควอลลิตี้ ไดร์ฟ จำกัด ดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมระบบลำเลียงและอุปกรณ์ส่งกำลังมามากกว่า 30 ปี เราสั่งสมประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการให้บริการและจัดจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพแก่ลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรม อีกทั้งทางบริษัทได้ขยายขอบเขตการดำเนินงาน โดยก้าวสู่การเป็นผู้ผลิตอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อเพิ่มความสามารถในการควบคุมคุณภาพและราคาของสินค้า ที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


Download Catalogue:
PONN_Catalogue

Basic Top Chain Conveyor Line Components
ส่วนประกอบของระบบสายพานลำเลียงท็อปเชน

PONN_ไลน์ผลิตสายพานลำเลียง_compressed

1. Top Chain

1. สายพาน Top Chain

 

    สายพาน Top Chain โดยทั่วไปทำมาจาก 2 วัสดุคือ พลาสติก หรือ สแตนเลส มีทั้งรุ่นสำหรับวิ่งตรง และวิ่งโค้ง ซึ่งสามารถเลือกใช้ให้เหมาะกับประเภทงานที่ต้องการ

 

มีขนาดมาตรฐานอยู่ที่ 3.25″, 4.00″, 4.50″, 6.00″, 7.00″, 7.50″, 10.00″ และ 12.00″

6. Bearing

6. ตลับลูกปืน

 

    ตลับลูกปืนมีหน้าที่รองรับเพลาและช่วยลดแรงเสียดทานทำให้เพลาสามารถหมุนทำงานได้ราบรื่นยิ่งขึ้น

2. Gearmotor

2. มอเตอร์เกียร์

 

    มอเตอร์เกียร์ทำหน้าที่ส่งแรงขับเคลื่อนเพื่อให้ไลน์สายพานลำเลียงหมุนทำงาน มอเตอร์เกียร์ยี่ห้อ SEW Eurodrive มีหลายขนาดและรูปแบบ โดยปัจจัยการเลือกใช้มีหลายปัจจัย อาทิเช่น แรงบิดที่ไลน์สายพานลำเลียงต้องการ พื้นที่การทำงาน ระยะเวลาการทำงาน และ อื่นๆ 

7. Idler

7. ลูกกลิ้ง

 

    ลูกกลิ้งมีหน้าที่ประคองสายพานลำเลียงให้อยู่ในเส้นทางและช่วยไม่ให้สายพานหย่อน โดยจะถูกติดตั้งที่จุดสุดท้ายที่สายพานวิ่งกลับ

3. Sprocket

3. เฟืองขับ

 

    เมื่อเฟืองขับได้รับแรงบิดจากมอเตอร์เกียร์ เฟืองขับจะหมุนและทำให้สายพานเริ่มการทำงาน โดยรูปแบบของเฟืองขับจะขึ้นอยู่กับประเภทของสายพานลำเลียง (แบบวื่งตรง หรือวิ่งโค้ง) และขนาดเพลาของมอเตอร์เกียร์ (ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้ง 25มม., 30มม., 35มม., 40มม. หรือ 45มม.)

8. Support Head

8. หัวซัปพอร์ต

 

    หัวซัปพอร์ตทำหน้าที่ในการเป็นตัวเชื่อมโครงฐานซัปพอร์ตด้านล่างเข้ากับโครงของเครื่องจักรสายพานลำเลียง

4. Bracket + Clamp

4. ขายึดข้าง + แคลมป์

 

    ขายึดข้างใช้งานคู่กับแคลมป์ ซึ่งจะถูกติดตั้งด้านข้างโครงหลัก มีหน้าที่ในการยึดท่อหรือรางเพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าหล่นจากรางและบังคับสินค้าให้เคลื่อนไปตามแนวรางของสายพานลำเลียง โดยทั่วไปแคลมป์จะมีให้เลือกแบบ รางเดี่ยว หรือ รางคู่ ขึ้นอยู่กับรูปแบบของสินค้า

9. Support Base

9. ขาซัปพอร์ต

 

    ขาซัปพอร์ตมีหน้าที่เป็นฐานของขาตั้งของโครงเครื่องจักรสายพานลำเลียง โดยรูปแบบที่ใช้ทั่วไปคือ 2-ขา, 2-ขา-ต่อ และ 3-ขา

5. Profile

5. โปรไฟล์

 

    โปรไฟล์ทำหน้าที่ในการเป็นฐานรองเพื่อให้สายพานลำเลียงวิ่งผ่าน หรือในบางกรณีใช้เพื่อช่วยในการควบคุมทิศทางไม่ให้สายพานลำเลียงวิ่งเอียง โดยปัจจัยหลักในการเลือกรูปแบบของโปรไฟล์จะขึ้นอยู่กับการออกแบบและประเภทการใช้งานของเครื่องจักร

10. Articulated Feet

10. ขาฉิ่ง

 

    ขาฉิ่งจะถูกติดตั้งเข้ากับขาซัปพอร์ต เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งระดับของเครื่องจักรในกรณีที่พื้นไม่เรียบ อีกทั้งยังช่วยลดแรงสั่นสะเทือนทำให้การทำงานเสถียรยิ่งขึ้น